Please turn your smartphone to portrait orientation.
Please turn your smartphone to portrait orientation.
scroll

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น
จากการบูรณะฟื้นฟู
สู่การสร้างเมืองใหม่

บริษัทโอบายาชิเชื่อว่าการบูรณะพื้นที่ประสบภัยพิบัติเป็นหนึ่งในภารกิจทางสังคมของบริษัทก่อสร้าง เราจึงมุ่งเน้นไปที่การบูรณะโครงสร้างพื้นฐาน และให้การสนับสนุนการฟื้นฟูหลังเกิดภัยพิบัติ

แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งแปซิฟิกโทโฮกุ พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)
ทำให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงและคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ ที่ก่อให้เกิดซากปรักหักพังมากมายหลากหลายชนิดกว่า 20 ล้านตัน
ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง
และยังได้ทำลาย "เมือง" ลงเป็นจำนวนมาก

ทันทีหลังเกิดแผ่นดินไหว เราได้พยายามอย่างเต็มที่ในการจัดหาบุคลากรและสิ่งของ เพื่อบูรณะฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะโดยเร็ว พร้อมทั้งพยายามทุกวิถีทาง ในฐานะบริษัทก่อสร้าง เพื่อฟื้นฟูความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่สภาวะปกติ

การกำจัดขยะจากภัยพิบัติ
(การกำจัดซากปรักหักพัง)

ที่ตำบลวาตาริ จังหวัดมิยางิ คลื่นสึนามิเคลื่อนเข้ามาถึงจุดที่อยู่ห่างจากฝั่ง 4 กม. และก่อให้เกิดขยะ จากภัยพิบัติมากถึง 1.26 ล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณขยะทั่วไปประมาณ 112 ปีของตำบลวาตาริ Obayashi JV รับผิดชอบภารกิจกำจัดขยะจากภัยพิบัติ ซึ่งเป็นขยะที่ถูกขนย้ายจากสถานที่จัดเก็บชั่วคราว ที่ 1 มาไว้ ณ สถานที่จัดเก็บชั่วคราวที่ 2 โดยเราได้ทำการคัดแยก บด และเผา ก่อนอื่นเราได้สร้าง เตาเผาขยะ 5 แห่ง พร้อมทั้งสร้างโรงกำจัดชั่วคราวซึ่งเป็นโรงบด กรอง และคัดแยกขยะ ณ สถานที่ จัดเก็บชั่วคราวที่ 2 หลังจากนั้น จึงทำการบดขยะที่ถูกรวบรวมและขนเข้ามา แล้วคัดแยกโดยใช้เครื่องจักรและคนเพื่อนำขยะที่เผาได้ไปทำการเผา โรงงานเหล่านี้จะถูกรื้อถอนหลังจากที่ขยะจากภัยพิบัติ ทั้งหมดซึ่งถูกขนเข้ามายังสถานที่จัดเก็บชั่วคราวที่ 2 ได้รับการกำจัดจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว
การเปิดใช้งานเตาเผาขยะอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งถือเป็นงานแรกสำหรับภารกิจกำจัดขยะจากภัยพิบัติ ในจังหวัดมิยางิของเรา ได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายน 2012 และกระบวนการทั้งหมดได้แล้วเสร็จใน ปีงบประมาณ 2013

ในโครงการนี้ เราไม่เพียงแต่รีไซเคิลคอนกรีตและโคลนเท่านั้น เรายังรีไซเคิลเถ้าถ่านที่ได้จากเตาเผา ขยะซึ่งปกติจะกำจัดด้วยการฝังกลบ เพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิลด้วย ส่วนขยะจากภัยพิบัติและตะกอนก็ นำไปเป็นทรัพยากรในการสร้างพื้นสำหรับโครงการฟื้นฟู มีการตรวจสอบความปลอดภัยด้วยหัวข้อตรวจสอบและความถี่ซึ่งมากกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เช่น การตรวจสอบอย่างต่อเนื่องสำหรับเขม่าและฝุ่นที่เกิดขึ้นระหว่างการเผา, การตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีในเถ้าจากเตาเผา เป็นต้น นอกจากนี้ เรายังได้จัดหาวัสดุที่จำเป็นร่วมกับสหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์การประมงในท้องถิ่น หอการค้าและอุตสาหกรรม และพยายามสร้างประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่นโดยการจ้างพนักงานกว่า 200 คนต่อวัน เพื่อมาเป็นบุคลากรสำหรับงานคัดแยกที่โรงงานด้วย

photo

งานกำจัดสิ่งปนเปื้อน
(โครงการทดลองสาธิต)

โครงการทดลองสาธิตการกำจัดสิ่งปนเปื้อน ในพื้นที่ในการแจ้งเตือนซึ่งอยู่ภายในระยะ 20 กม.จาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง และพื้นที่เตรียมการอพยพ รวม 12 เขตเทศบาล (เมืองตำบล และหมู่บ้าน) ดำเนินการโดยสำนักงานพลังงานปรมาณูแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้รับมอบหมายจาก สำนักนายกรัฐมนตรีในปีงบประมาณ 2011 โดยใน 12 เขตเทศบาลดังกล่าวนี้ Obayashi JV ดูแล 4 เขตเทศบาล ได้แก่ ตำบลโอคุมะ, ตำบลนาราฮะ, หมู่บ้านคาวาอุจิ และตำบลฮิโรโนะ จังหวัดฟูกูชิมะ
วัตถุประสงค์ของโครงการทดลองสาธิตนี้คือ เพื่อศึกษาวิธีการกำจัดสิ่งปนเปื้อนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับงานกำจัดสิ่งปนเปื้อนอย่างเต็มรูปแบบที่จะเริ่มดำเนินการภายหลัง, เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการกำจัดสิ่งปนเปื้อน, เพื่อสร้างสถานที่จัดเก็บชั่วคราวสำหรับสิ่งปนเปื้อน ที่ถูกกำจัดออกมา และเพื่อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติงานในสภาวะที่มีปริมาณ กัมมันตภาพรังสีสูง เป็นต้น

สถานที่ซึ่งต้องกำจัดสิ่งปนเปื้อน ได้แก่ ป่าไม้และที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม, ที่ดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย, อาคารขนาดใหญ่, ถนน ฯลฯ โดยมีพื้นที่รวมกันมากถึงประมาณ 123 เฮกตาร์ ก่อนอื่นเราจะทำการสำรวจสถานที่ซึ่งต้องการกำจัดสิ่งปนเปื้อนล่วงหน้า แล้วจึงพิจารณาหาวิธีกำจัดสิ่งปนเปื้อนที่เหมาะสมที่สุด โดยอิงจากผลสำรวจ ยกตัวอย่างเช่น เราได้ใช้คนในการตัดหญ้าและต้นไม้, ใช้เครื่องจักรกลหนักในการ ขุดลอกดินชั้นบน, ล้างทำความสะอาดด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง, เช็ดทำความสะอาดหลังคาและกรอบหน้าต่างของอาคาร เป็นต้น หลังจากการดำเนินการเหล่านี้ เราได้ตรวจสอบประสิทธิภาพโดย ทำการสำรวจอีกครั้งเพื่อวัดปริมาณกัมมันตภาพรังสีว่ามีการลดลงในระดับใด

พร้อมกันนี้ เราได้สร้างสถานที่จัดเก็บชั่วคราวสำหรับขนย้ายสิ่งปนเปื้อนที่ได้จากการกำจัดสิ่งปนเปื้อน เข้ามาจัดเก็บ, ขนย้ายสิ่งปนเปื้อนที่ได้จากการกำจัดสิ่งปนเปื้อนและจัดเก็บชั่วคราว, และทำการสำรวจ
เนื่องจากพื้นที่ปฏิบัติงานของเราเป็นพื้นที่ในการแจ้งเตือนและพื้นที่เตรียมการอพยพ จึงมีข้อจำกัดมากมาย แต่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุดในระยะเวลาอันสั้น เราได้รวมพลังด้านบุคลากรและความสามารถทางเทคนิคของเราเข้าด้วยกันเพื่อทำโครงการนี้ โดยถือเป็นก้าวแรกของเราสู่งานกำจัดสิ่งปนเปื้อนอย่างเต็มรูปแบบ

photo

งานกำจัดสิ่งปนเปื้อน

สืบเนื่องจากโครงการทดลองสาธิตการกำจัดสิ่งปนเปื้อนที่ดำเนินการโดยสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง สิ่งแวดล้อมจึงได้เริ่มดำเนินการกำจัดสิ่งปนเปื้อนตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา โดยมีเขตเทศบาล 12 เขต รวมถึงพื้นที่ซึ่งห้ามหรือจำกัดการเข้าถึง (เนื่องจากมีปริมาณรังสีที่สูงมาก) อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรง สำหรับพื้นที่อื่นๆ รวมถึงพื้นที่นอกเหนือจากจังหวัดฟูกูชิมะ แต่ละเขตเทศบาลจะเป็นผู้ดำเนินการกำจัดสิ่งปนเปื้อนเอง
ในส่วนของพื้นที่ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรง บริษัทเรารับผิดชอบดูแลหมู่บ้านคาวาอุจิ ตำบลโอคุมะ และตำบลโทมิโอกะ สำหรับเขตเทศบาลในจังหวัดฟูกูชิมะ เรารับผิดชอบดูแลเมืองโคริยามะ เมืองดาเตะ และเมืองฟูกูชิมะ สำหรับพื้นที่นอกเหนือจากจังหวัดฟูกูชิมะ เช่น เมืองคาชิวะ เมืองอิจิโนเซคิ ฯลฯ เราได้ ทำการกำจัดสิ่งปนเปื้อน รวมทั้งวัดระดับกัมมันตภาพรังสีก่อนกำจัดสิ่งปนเปื้อน

การกำจัดสิ่งปนเปื้อนครอบคลุมตั้งแต่บ้านเรือน, โครงสร้างอาคาร, ถนน, สวนสาธารณะ, พื้นที่เกษตรกรรม, สวนผลไม้ ไปจนถึงป่าไม้ในบริเวณใกล้เคียง เราดำเนินงานโดยคำนึงถึงความต้องการของพลเมืองอย่างเต็มที่ ซึ่งสิ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกก็คือ การเตรียมความพร้อมให้พลเมืองโดยเฉพาะในพื้นที่ ซึ่งรอการยกเลิกจากการเป็นพื้นที่อพยพ สามารถกลับจากสถานที่อพยพ คืนสู่ถิ่นที่อยู่อาศัยและฟื้นฟูได้

ถึงแม้จะมีโครงการนำร่องการทดลองสาธิตก็ตาม สำหรับกระทรวงสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างโครงการ และสำหรับบริษัทฯ แล้ว งานกำจัดสิ่งปนเปื้อนนี้ถือเป็นครั้งแรก เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ขึ้น พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาใช้ด้วย นอกจากนี้ เนื่องจากต้องใช้คนงาน รถก่อสร้าง และอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก เราจึงได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากทั่วประเทศญี่ปุ่น

photo

สถานที่จัดเก็บชั่วคราว การลดปริมาตรสิ่งปนเปื้อน
และการรีไซเคิล

ดินปนเปื้อนที่ได้จากการขุดลอกดินชั้นบนในงานกำจัดสิ่งปนเปื้อน จะถูกรวบรวมไว้ที่สถานที่จัดเก็บชั่วคราว หลังจากนั้นจะถูกนำไปจัดเก็บที่ "พื้นที่จัดเก็บชั่วคราว" ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 1,600 เฮกตาร์ ครอบคลุมตำบลโอคุมะและตำบลฟุตาบะ ทางฝั่งตะวันออกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 6 สำหรับการจัดเก็บดินกว่า 4 ล้านลูกบาศก์เมตรจากทั้งหมดที่คาดว่าจะมีประมาณ 14 ล้านลูกบาศก์เมตร บริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบงานอย่างครบวงจร ตั้งแต่การขนส่งจากสถานที่จัดเก็บชั่วคราวไปยัง "พื้นที่จัดเก็บชั่วคราว" การรับและการแยกดินที่ปนเปื้อน ตลอดจนการฝังกลบในดินเพื่อจัดเก็บ

photo

เนื่องจากการรับและการแยกดินในขบวนการจัดเก็บชั่วคราวนั้น ไม่เคยมีใครทำมาก่อนในโลก เราจึงต้องเตรียมการตั้งแต่แรก จากการออกแนวคิด ไปจนถึงการใช้งานจริง ซึ่งหมายถึงการสร้างระบบทั้งหมด ตลอดจนการออกแนวคิด/การออกแบบ/การทดลองสาธิตอุปกรณ์แต่ละชนิด เราพัฒนาและใช้อุปกรณ์ของเราเอง อาทิเช่น เครื่องฉีกบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนขนาดใหญ่, เครื่องยกเทของลงจากรถดัมพ์ เป็นต้น

นอกจากดินปนเปื้อนแล้ว ยังมีการนำเถ้าถ่านที่ได้จากการเผาขยะที่เผาได้ซึ่งมีความเข้มข้นของรังสีสูง เข้ามาไว้ที่ "พื้นที่จัดเก็บชั่วคราว" ด้วย โดยมีระยะเวลาจัดเก็บ 30 ปี หลังจากนั้นจะต้องขนย้ายออก จากจังหวัดฟูกูชิมะ เพื่อนำไปกำจัดในขั้นสุดท้าย นอกจากนี้ เพื่อลดปริมาณดินปนเปื้อนและเถ้าถ่าน เรายังจำเป็นต้องลดปริมาตรสิ่งปนเปื้อนและทำการรีไซเคิลด้วย โครงการนี้จึงถือเป็นโครงการสำคัญของประเทศ
เราได้ติดตั้งเตาเผาขยะและเตาหลอมขนาดใหญ่ ที่ตำบลฟุตาบะ โดยร่วมมือกับ Nippon Steel Engineering Co., Ltd. และ Kubota Environmental Service Co., Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำด้าน เทคโนโลยีการเผาและการหลอม พร้อมทั้งให้การสนับสนุนการดำเนินงานนี้ ในโครงการรีไซเคิลดินปนเปื้อนที่หมู่บ้านอีทาเทะ มีการนำดินปนเปื้อนที่มีความเข้มข้นรังสีต่ำ (ซึ่งวัดด้วยเทคโนโลยี ที่พัฒนาขึ้นในโครงการทดลองสาธิต) ไปทำเป็นฐานคันดินในพื้นที่ทำการเกษตรเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ เกษตรกรรม

เราร่วมทำโครงการเหล่านี้ โดยให้ความสำคัญสูงสุดกับความปลอดภัยและการฟื้นฟูท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงการจ้างงานและการจัดหาวัสดุที่จำเป็นด้วย

photo

การฟื้นฟูและสร้างเมือง

"โครงการส่งเสริมการย้ายถิ่นแบบกลุ่มเพื่อป้องกันสาธารณภัย" จะส่งเสริมให้กลุ่มพลเมืองที่อาศัย อยู่ในพื้นที่ซึ่งไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย เช่น พื้นที่ด้านหลังเขื่อนกั้นน้ำทะเล ฯลฯ ย้ายถิ่นที่อยู่ ไปยังพื้นที่ใหม่ โดยพื้นที่ใหม่นี้จะเป็นที่ดินซึ่งพัฒนาขึ้นจากการตัดดินในพื้นที่ภูเขา
ลำดับถัดไปคือ "โครงการจัดการแบ่งเขตที่ดิน" ซึ่งเป็นการเตรียมแปลงที่ดินหลังจากปรับปรุง สิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะต่างๆ เช่น ถนน, สวนสาธารณะ, แม่น้ำ ฯลฯ โดยจะมีการเสริมพื้นดิน (ถมดิน) ให้สูงขึ้นในพื้นที่เดิมก่อนเกิดภัยพิบัติ เพื่อปรับปรุงเมืองในขณะที่รักษาชุมชนนั้นไว้ สุดท้ายเราจะดำเนิน "โครงการพัฒนาฐานฟื้นฟูภัยพิบัติสึนามิ" เพื่อพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณะ เช่น โรงพยาบาล, โรงเรียน รวมทั้งฐานการอพยพและการฟื้นฟูบูรณะเมื่อเกิดภัยพิบัติ

สำหรับการพัฒนาเมืองตามโครงการทั้ง 3 นี้ เขตเทศบาลที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ทางฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น ได้ลงนามใน "ข้อตกลงหุ้นส่วน" กับองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมือง (Urban Renaissance Agency) เพื่อเดินหน้าพัฒนาเมืองใหม่ในแต่ละพื้นที่ต่อไป

ในเดือนเมษายน 2013 Obayashi JV ได้รับมอบหมายจากองค์กรพัฒนาและฟื้นฟูเมือง ในรูปแบบของการบริหารจัดการงานก่อสร้าง (Construction Management หรือ CM) ในการฟื้นฟูและสร้างเมืองสำหรับตำบลยามาดะ ซึ่งตั้งอยู่ทางชายฝั่งตอนกลางของจังหวัดอิวาเตะ และได้ถูกทำลายลงโดยสึนามิ องค์กรพัฒนาและ​ฟื้นฟูเมืองจะเป็นฝ่ายประสานงานโดยรวมสำหรับ แต่ละเขตที่ร่วมโครงการ ส่วนบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการงานก่อสร้างจะรับผิดชอบการออกแบบ โดยละเอียดและการก่อสร้าง ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบและการสำรวจที่ดินที่จำเป็น นอกจากนี้ เรากำลังวางแผนสร้างอาคารชุดสำหรับพลเมืองซึ่งต้องการที่อยู่ใหม่ โดยแนวคิดของอาคารจะเป็น ทิวทัศน์ดั้งเดิมของตำบลยามาดะที่จะคงอยู่ต่อไปในอนาคต "กลุ่มอาคารยามาดะชูโอ ตำบลยามาดะ" ได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน 2016

สำหรับโครงการนี้ เราเป็นผู้บุกเบิกในการนำ ICT เข้ามาใช้อย่างจริงจัง เราใช้ ICT ในการสำรวจที่ดิน สำหรับสถานที่ก่อสร้างขนาดใหญ่ และใช้แบบจำลอง 3 มิติเพื่อสร้างฉันทามติกับผู้อยู่อาศัย การใช้ ICT ทำให้เราสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นได้ และยังได้รับการประเมินอย่างสูงด้วยการชนะรางวัล "ผู้สร้างผลงานดีเด่นทางวิศวกรรมประจำปี 2019" อีกด้วย

photo

การบูรณะโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ
(ถนน อุโมงค์ และแม่น้ำ)

มีโครงการพัฒนาถนนเลียบชายฝั่งซันริกุ (ทางด่วนแนวหนือใต้ซันริคุ, ทางด่วนแนวเหนือใต้ซันริคุ-คิตะ, ทางด่วนฮาจิโนเฮะ-คุจิ) เพื่อให้เป็น "ถนนเพื่อการฟื้นฟู" และโครงการพัฒนาถนนข้ามมิยาโกะ-โมริโอกะ (มิยาโกะ-โมริโอกะ), ทางด่วนข้ามโทโฮกุ สายคามาอิชิ-อากิตะ (คามาอิชิ-ฮานามากิ), พร้อมทั้ง ทางด่วนโทโฮกุชูโอ (โซมะ-ฟูกูชิมะ) ขึ้นให้เป็น "ถนนสนับสนุนการฟื้นฟู" ในถนนที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ รับผิดชอบการสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 45 โยชิฮามะ-คามาอิชิ (ระยะทาง 3 กม. ที่ก่อสร้างอุโมงค์ 3 อุโมงค์ และสะพานข้าม 2 สะพาน) ซึ่งจะกลายเป็น "ถนนเพื่อการฟื้นฟู" พร้อมทั้งรับผิดชอบการสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 283 ถนนคามาอิชิ ซึ่งจะกลาย เป็น "ถนนสนับสนุนการฟื้นฟู" ( อุโมงค์ 1 อุโมงค์, โครงสร้างสะพานส่วนล่าง 14 ตัว และโครงสร้าง สะพานส่วนบนสำหรับ 1 สะพาน) (แล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2017) เรานำเทคโนโลยีต่างๆ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศมาใช้ในการก่อสร้าง เพื่อให้สามารถเปิดใช้เส้นทางได้โดยเร็ว และเพื่อความทนทาน ลดการบำรุงรักษาหลังเปิดใช้งาน และเรายังมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจในท้องถิ่นด้วย

ที่แม่น้ำซาราไกในลุ่มน้ำคิตาคามิ เมืองอิชิโนะมาคิ จังหวัดมิยางิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีน้ำประปาซึ่ง เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน มีการทรุดตัวของเขื่อนเป็นบริเวณกว้าง เราจึงได้ทำการบูรณะทั้งสองฝั่ง เป็นระยะกว่า 10 กม. (แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2017)

photo
eastjapan
Disposal of disaster waste material (debris)
Decontamination work (model demonstration projects)
Decontamination work
Interim storage, volume reduction, and recycling
Reconstruction and community building
Restoration of public infrastructure
Restoration of public infrastructure
highway
area
  1. การกำจัดขยะจากภัยพิบัติ
    (การกำจัดซากปรักหักพัง)
  2. งานกำจัดสิ่งปนเปื้อน
    (โครงการทดลองสาธิต)
  3. งานกำจัดสิ่งปนเปื้อน
  4. สถานที่จัดเก็บชั่วคราว การลดปริมาตรสิ่งปนเปื้อน
    และการรีไซเคิล
  5. การฟื้นฟูและสร้างเมือง
  6. การบูรณะโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ
    (ถนน อุโมงค์ และแม่น้ำ)

การสนับสนุนการบูรณะฟื้นฟูของบริษัทเรา ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาคโทโฮกุ ตั้งแต่การกำจัดซากปรักหักพังหลังเกิดภัยพิบัติ
การกำจัดและลดปริมาตรสิ่งปนเปื้อนในพื้นที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี ไปจนถึงการฟื้นฟูและสร้างเมือง
โดยปัจจุบันเรายังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง