Please turn your smartphone to portrait orientation.
Please turn your smartphone to portrait orientation.
OBAYASHI CORPORATION

TECHNOLOGY RESEARCH
INSTITUTE FACILITIES

สถาบันวิจัยที่ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

สถาบันวิจัยที่ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
OBAYASHI CORPORATION

TECHNOLOGY RESEARCH
INSTITUTE FACILITIES

อาคารทดลองด้านไดนามิคส์

Dynamics Laboratory

โต๊ะสั่นสะเทือนสามมิติ

โต๊ะสั่นสะเทือนสามมิติที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น สามารถติดตั้งวัตถุทดสอบขนาด 50t ไว้บนโต๊ะ และจำลองการสั่นสะเทือนแบบสามมิติด้วยความแม่นยำสูง ตั้งแต่แผ่นดินไหวขนาดเล็ก ไปจนถึง การสั่นสะเทือนที่มีความแรง 2 เท่าของแผ่นดินไหวใหญ่ฮันชิน (แผ่นดินไหวทางตอนใต้ของจังหวัดเฮียวโงะ) ใช้เพื่อการพัฒนาและการประเมินความปลอดภัยของเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การต้านทานแผ่นดินไหว, ระบบตัดแยกฐานรากออกจากตัวอาคาร, การควบคุมการสั่นสะเทือน เป็นต้น

อุปกรณ์ทดลองโมเดลจำลองการหมุนเหวี่ยง

อุปกรณ์ทดลองที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิคและวิศวกรรมแผ่นดินไหว ใช้ทดสอบความปลอดภัยของโครงสร้างใต้ดิน และปรากฏการณ์เฉพาะที่เกิดจากแผ่นดินไหว เช่น ปรากฏการณ์ แผ่นดินเหลว ฯลฯ การจำลองพื้นดินขนาดใหญ่ขึ้น แล้วสร้างแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หรือใส่แรงต่างๆ จากภายนอก เข้าไป ช่วยให้เราเข้าใจถึงความแข็งแรง การเสียรูป ตลอดจน คุณลักษณะทางไฮดรอลิกเหมือนกับที่เกิดขึ้นจริง ได้อย่างแม่นยำ

อุปกรณ์ทดสอบแบบสามแกนขนาดใหญ่

ทำการทดสอบแบบสถิตและแบบพลวัตกับวัสดุดินเนื้อหยาบขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับฝังกลบหรือทำคันดิน เพื่อจำลองสภาพความเค้นของพื้นดินตามธรรมชาติ ใช้ระบุความแข็งแรง/คุณสมบัติเกี่ยวกับการเสียรูป ในภาวะสถิตของพื้นดิน รวมทั้งคุณสมบัติเกี่ยวกับการเสียรูปในภาวะพลวัตและแผ่นดินเหลวระหว่างเกิดแผ่นดินไหว

อุปกรณ์ทดสอบชั้นหินแข็งแบบมัลติฟังก์ชัน

ใช้ตัวอย่างสำหรับทดสอบขนาดใหญ่ เพื่อระบุคุณสมบัติเกี่ยวกับความแข็งแรงและการซึมผ่านของน้ำใน ชั้นหินแข็งที่แตกร้าว รวมทั้งเพื่อทำความเข้าใจและอธิบายได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับกลไกการพังทลาย/ การแทรกซึม ใช้สำหรับประเมินโครงสร้างใต้ดินในชั้นหินแข็งและโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มีฐานเป็นชั้นหินแข็ง

อาคารทดลองทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

Environmental Engineering Laboratory

อุปกรณ์ทดลองอุโมงค์ลมอเนกประสงค์

หน้าตัดของส่วนที่วัด มีขนาด 3 ม. x 3 ม. มีความเร็วลมสูงสุด 40 ม./วินาที เป็นหนึ่งในอุโมงค์ลมเพื่อการก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ใช้เพื่อตรวจสอบการไหลผ่านของ กระแสลมรอบๆ อาคารและผลกระทบของลมที่มีต่อตัวอาคาร

อุปกรณ์อุโมงค์ลมแบบหลายพัดลม สำหรับสร้างกระแสลมไม่คงที่

อุปกรณ์ทดลองเครื่องแรกของโลกที่รวมอุปกรณ์อุโมงค์ลมแบบหลายพัดลมซึ่งสามารถสร้างกระแสลม ที่หลากหลายด้วยพัดลมโบลเวอร์หลายตัว, เครื่องกำเนิดทอร์นาโด และเครื่องกำเนิดดาวน์เบิร์สต์ เข้าด้วยกัน ใช้เพื่อจำลองปรากฏการณ์ลมกระโชกแรงต่างๆ และประเมินผลกระทบนั้น

อาคารทดลองเกี่ยวกับเสียง

วัดประสิทธิภาพของฉนวนกันเสียงและลักษณะการดูดซับเสียงของวัสดุก่อสร้าง โดยใช้ห้องที่มีเสียงก้อง 2 ห้อง และห้องไร้เสียงก้อง 1 ห้อง เราสร้างสภาพแวดล้อมทางเสียงที่ดีเพื่อการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย

ห้องปฏิบัติการแบบเปิด 1

Multipurpose Laboratory 1

เป็นอาคารทดลองประเภทโครงสร้างและวัสดุเติม เราตอบสนองอย่างยืดหยุ่นต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลง ไปตามยุคสมัย ด้วยการออกแบบพื้นที่ให้มีความยืดหยุ่นสูง มีการสร้างพื้นที่สำหรับการทดลองอเนกประสงค์ ซึ่งสามารถทำการทดลองต่างๆ ได้อย่างยืดหยุ่น พร้อมทั้งโต๊ะสั่นสะเทือนขนาดใหญ่สำหรับการทดลองแบบ พลวัตของพื้นดิน ซึ่งสามารถจำลองการเคลื่อนไหวต่างๆ ของพื้นดินระหว่างเกิดแผ่นดินไหว เช่น การเกิด แผ่นดินเหลว ฯลฯ ได้

อาคารหลัก Techno-Station

สถานที่ทำงานที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ในระดับสูงสุด สำหรับผู้ทำงาน

ก่อนที่จะมีการทำโครงการฟื้นฟู ห้องวิจัยของเรากระจายตัวอยู่โดยแบ่งตามสาขาความเชี่ยวชาญ ทำให้โอกาส ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันมีน้อย รวมทั้งขาดการสื่อสารระหว่างแผนก ดังนั้นในอาคารหลักใหม่ เราจึงได้สร้าง สถานที่ทํางานซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้นักวิจัยจากทุกสาขามารวมตัวและทํางานร่วมกัน นอกจากนี้ จากการออกแบบเส้นทางการเคลื่อนที่ของคนอย่างเหมาะสม โดยการกระจายพื้นที่ประชุมและพื้นที่พักผ่อน อย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถกระตุ้นให้มีการสื่อสารซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งเพิ่มผลิตภาพทางปัญญาได้ ในฐานะห้องปฏิบัติการแห่งอนาคต พื้นที่โปร่งโล่งด้วยเพดานที่สูง ยังช่วยส่งเสริมการสร้างสรรค์ทางปัญญา ของนักวิจัยอีกด้วย

อาคารหลัก Techno-Station

อาคารที่ไม่สั่นสะเทือนแม้เกิดแผ่นดินไหว

"Laputa 2D" ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการควบคุมการสั่นสะเทือนขั้นสูง ถูกนำมาใช้กับ Techno-Station ทำให้ Techno-Station เป็น "อาคารที่ไม่สั่นสะเทือนแม้เกิดแผ่นดินไหว" แห่งแรกของโลก

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น เซนเซอร์ Laputa 2D ซึ่งติดตั้งไว้ที่อาคารและที่พื้นดินจะตรวจจับการสั่นสะเทือน ของพื้นดิน ในขณะที่คอมพิวเตอร์จะคำนวณหาแรงควบคุมที่เหมาะสมในทันที และตัวกระตุ้น (actuator) จะเคลื่อนอาคารไปในทิศตรงกันข้ามกับทิศการสั่นสะเทือนของแผ่นดินเพื่อควบคุมการสั่นสะเทือน การนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับสถานที่วิจัย ช่วยให้นักวิจัยปลอดภัยและทำงานได้อย่างอุ่นใจ

อาคารหลัก Techno-Station

การคำนึงถึง "สุขภาพ"

บริษัทโอบายาชิ ส่งเสริมกิจกรรมที่เสริมสร้างสุขภาพและการปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้ใช้อาคาร โดยเรียกการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อให้บรรลุความสะดวกสบาย สุขภาพ ความปลอดภัยและความอุ่นใจ รวมถึงวิธีการดําเนินงานและการจัดการว่า "สถาปัตยกรรมเพื่อสุขภาพ" เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่ จําเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

ในเดือนพฤศจิกายน 2017 Techno-Station ได้รับการรับรองระดับ Gold Level จาก WELL Building Standard (การรับรอง WELL) ซึ่งเป็นมาตรฐานการประเมินระดับสากลสำหรับอาคารและสภาพแวดล้อมในอาคารโดย คำนึงถึงสุขภาพ โดยครั้งนี้ถือเป็นการรับรองครั้งแรกในโลกสำหรับการประเมินทั้งอาคาร

ในการขอรับการรับรอง WELL เราได้พิจารณามาตรการต่างๆ ที่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยทำการประเมิน สภาพแวดล้อมภายในอาคารและสภาพแวดล้อมทางแสงอีกครั้งจากมุมมองด้านสุขภาพ, เส้นทางการ เคลื่อนที่ของคนภายในที่ทำงานและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยรอบ, รูปแบบการทำงานของผู้คน ตลอดจนเมนูในโรงอาหาร ในส่วนนี้มีการคำนึงถึงการผ่อนคลายความตึงเครียดทางกาย โดยการนำโต๊ะยืน ทำงานเข้ามาใช้ด้วย Techno-Station ได้รับการประเมินว่าเป็นอาคารขั้นสูงไม่เพียงแต่ในมุมมองของ การต้านทานแผ่นดินไหวและการประหยัดพลังงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านสุขภาพด้วย

ประหยัดพลังงานด้วยแสงด้านบนจากธรรมชาติ

สร้างพื้นที่ซึ่งสะดวกสบาย ด้วยการควบคุมแสงและความร้อน

ใช้ลมเพื่อระบายอากาศตามธรรมชาติในสำนักงาน

ใช้น้ำฝนและน้ำใต้ดินอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบปรับอากาศและระบบไฟให้แสงสว่าง ด้วยการใช้แท็ก IC

ทั้งประหยัดพลังงานและสบาย ด้วยเครื่องปรับอากาศส่วนบุคคล

ประหยัดพลังงาน ด้วยการใช้ความร้อนจากใต้ดิน

เมื่อสวิตช์ ECO ในอาคารสว่างขึ้น จะเปลี่ยนเป็นโหมดระบายอากาศตามธรรมชาติ

สามารถตรวจสอบผลของการประหยัดพลังงานและการลด CO2 ได้ทันที

อาคารทดลองด้านสภาพแวดล้อมทางแม่เหล็กไฟฟ้า

Electromagnetic Environment Laboratory

พัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางแม่เหล็กไฟฟ้ารอบๆ ตัวอาคาร ซึ่งถูกปล่อยออกมาจากสมาร์ทโฟน และ Wi-Fi ใช้สำหรับประเมินคุณภาพของวัสดุป้องกันและดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ห้องปฏิบัติการแบบเปิด 2

Multipurpose Laboratory 2

สร้างขึ้นภายใต้แนวคิด พื้นที่ทดลองแบบเปิดอัน "น่าดึงดูด" ซึ่งมีการแสดงภาพเทคโนโลยี ณ อาคารทดลอง ด้านนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันเรากำลังทำการทดลองเกี่ยวกับวัสดุคอนกรีต รวมทั้งการก่อสร้างที่ใช้ DX (การนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลเข้ามาใช้การก่อสร้าง) โดยเป้าหมาย ของเราคือการเป็นกลางทางคาร์บอน

ห้องจำลองสภาพอากาศเทียมเอนกประสงค์

ใช้ทำการวิจัยและพัฒนาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และทดลองเกี่ยวกับความทนทานของวัสดุดังกล่าว ประกอบด้วยห้อง 2 ห้อง สามารถรวมสภาพอากาศต่างๆ 6 ประเภทเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ อุณหภูมิสูง, อุณหภูมิต่ำ, ฝนตก, หิมะตก, แสงแดดจากดวงอาทิตย์ และลม เพื่อจำลองสภาพอากาศที่หลากหลายของทั่วโลกได้

อุปกรณ์สร้างประสบการณ์การสั่นสะเทือน

จำลองการสั่นสะเทือนเมื่อเกิดแผ่นดินไหวของอาคารที่ใช้เทคโนโลยีการควบคุมการสั่นสะเทือนและ เทคโนโลยีการตัดแยกฐานรากออกจากตัวอาคารแบบต่างๆ เช่น "Laputa 2D" ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการ ควบคุมการสั่นสะเทือนขั้นสูง ตลอดจนการจำลองการสั่นสะเทือนของตึกระฟ้าจากแผ่นดินไหวและลม อิงจากประสบการณ์จริงด้านการสั่นสะเทือน ผู้เกี่ยวข้องจากทุกฝ่ายจะตกลงร่วมกัน เกี่ยวกับระดับของ การควบคุมการสั่นสะเทือนและการตัดแยกฐานรากออกจากตัวอาคาร ซึ่งเราตั้งเป้าเอาไว้

โรงงานเคลื่อนที่สำหรับผลิตคอนกรีตพิเศษ

เป็นโรงงานผลิตคอนกรีตแบบเคลื่อนที่ พร้อมเครื่องผสมที่มีประสิทธิภาพการผสมสูง ใช้ผลิตชิ้นงานทดสอบคอนกรีตตามมาตราส่วนจริง ด้วยวัสดุและสูตรผสมพิเศษ

อาคารทดลองทางวิศวกรรมอัคคีภัย

Fire Protection Engineering Laboratory

เราทำการตรวจสอบความปลอดภัยจากอัคคีภัย ของอาคารและโครงสร้างทางวิศวกรรมโยธาอย่าง ครอบคลุมโดยใช้อุปกรณ์ทดลองต่างๆ เราตั้งเป้าที่จะพัฒนาวิธีการก่อสร้างใหม่ๆ, ปรับปรุงประสิทธิภาพ เทคโนโลยีและการออกแบบที่ทนไฟ ตลอดจน ปรับปรุงความปลอดภัยของพื้นที่ใต้ดินลึก

อาคารทดลองด้านโครงสร้าง

Structural Engineering Laboratory

ในอาคารมีการติดตั้งผนังแรงปฏิกิริยาขนาดใหญ่ซึ่งมีความสูง 12 ม. กว้าง 10 ม. และมีความสามารถ ในการรับน้ำหนักสูงสุด 24,000 kN, อุปกรณ์ทดสอบอเนกประสงค์ และเครื่องทดสอบแบบสองแกน เราทำการทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ควบคุมแรงสั่นสะเทือน พร้อมทั้งทดลองเกี่ยวกับประสิทธิภาพ ของโครงสร้างคานเหล็ก โดยการจำลองเท่าขนาดจริงของอาคารและโครงสร้างทางวิศวกรรมโยธา

อาคารทดลองทางเคมีวัสดุ

Materials & Chemical Engineering Laboratory

เป็นห้องปฏิบัติการแบบยั่งยืน ซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงาน ความปลอดภัย และความยั่งยืนสูง ทั้งยังเป็นมิตรกับผู้คนและสิ่งแวดล้อม ด้วยการวิเคราะห์เชิงเคมีของสารต่างๆ เรากำลังพัฒนาเทคโนโลยีด้าน วัสดุที่ไม่เป็นอันตรายและมีคุณภาพสูง รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรักษาและปรับปรุงสภาพแวดล้อม เช่น การทำดินและน้ำให้บริสุทธิ์ เป็นต้น

Obayashi Corporation Technology Research Institute

สถาบันวิจัยที่ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

กำเนิดของอาคารหลักหลังใหม่ "Techno-Station"

Obayashi Corporation Technology Research Institute ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1965 ที่เมืองคิโยเสะ กรุงโตเกียว ตั้งแต่นั้นมาเราได้ทำการขยายและปรับปรุงสถานที่และอุปกรณ์ของเราหลายต่อหลายครั้ง
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เกิดขึ้นในยุค 1990 ถึงยุค 2000 เราได้ริเริ่มโครงการฟื้นฟูขึ้นในปี 2007 เพื่อเปลี่ยนเราให้เป็นสถานที่ซึ่งเหมาะสมกับการเป็น "ห้องปฏิบัติการแห่งอนาคต"

เมื่อปี 1967
เมื่อปี 1967

ระยะที่ 1 ของการฟื้นฟู เป็นการสร้าง Techno-Station (อาคารหลักหลังใหม่) และห้องปฏิบัติการแบบเปิด 1 (สถานที่ทดลองอเนกประสงค์) ซึ่งแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2010 นอกจากนี้ เรายังได้ดัดแปลงอาคาร สํานักงานซึ่งเดิมเป็นอาคารหลัก ให้เป็นอาคารทดลองทางเคมีวัสดุด้วย (เดือนเมษายน 2011) Techno-Station ถูกสร้างขึ้นภายใต้แนวคิด 3 ประการ ได้แก่ "สภาพแวดล้อมสำหรับการวิจัยที่ล้ำสมัย", "การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่ล้ำสมัย" และ "ความปลอดภัยและความอุ่นใจที่ล้ำสมัย" Techno-Station ยังได้รับการประเมินอย่างสูงจากภายนอกว่าเป็นผลลัพธ์ทางเทคโนโลยีที่บริษัทโอบายาชิได้พัฒนาขึ้นมา โดยได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลสถาปัตยกรรมยั่งยืน (รางวัลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยว เดือนกุมภาพันธ์ 2012), รางวัล BCS ของสหพันธ์อุตสาหกรรมการก่อสร้างญี่ปุ่น (Japan Federation of Construction Contractors) (ปีงบประมาณ 2013) และรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม (ปีงบประมาณ 2011) เป็นต้น

ในระยะที่ 2 มีการทำ Techno-Station ให้เป็น source ZEB*1 (เดือนมกราคม 2014) พร้อมทั้งมีการก่อสร้าง ห้องปฏิบัติการแบบเปิด 2 (เดือนกุมภาพันธ์ 2014) ส่วนในระยะที่ 3 มีการสร้างระบบพลังงานอัจฉริยะ*2 สำหรับ Technology Research Institute ขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 จึงถือเป็นการจัดสภาพแวดล้อมให้กับ Technology Research Institute ที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็น "สถานที่แห่งนวัตกรรมทางเทคโนโลยี", "สถานที่แห่งการวิจัยเชิงทดลองทางเทคโนโลยี" และ "สถานที่แห่งการนำเสนอเทคโนโลยี"

จากนั้นมาเราได้ทำการปรับปรุงสถานที่ของเราอย่างต่อเนื่อง เช่น ปรับปรุงอาคารทดลองทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (เดือนกันยายน 2018)

ณ เดือนสิงหาคม 2021
ณ เดือนสิงหาคม 2021

*1อาคารที่มีปริมาณการใช้พลังงานขั้นต้นระหว่างการใช้งานอาคาร เป็นศูนย์โดยรวมในระยะเวลา 1 ปี ด้วยการใช้ประโยชน์จากพลังงานหมุนเวียน ฯลฯ*2สร้างขึ้นภายในสถาบันวิจัย เพื่อทำการวิจัยเชิงทดลองทางเทคโนโลยีที่จําเป็นสําหรับเมืองอัจฉริยะรุ่นต่อไป ความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานพลังงานนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อิงจากการคาดการณ์อุปสงค์ และอุปทานพลังงานด้วยการใช้ Big Data (ข้อมูลขนาดใหญ่) เราเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
จํานวนมากให้อยู่ในระดับสูงสุด พร้อมทั้งควบคุมระบบผลิตไฟฟ้ารวมขนาดเล็กและแบตเตอรี่ทุติยภูมิขนาดใหญ่ แบบเรียลไทม์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดค่าพลังไฟฟ้าสูงสุด รวมทั้งความต้องการพลังไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีการนํา SCIM (Smart City Information Modeling) เข้ามาใช้ เพื่อช่วยให้เราเห็นภาพแบบเรียลไทม์ สำหรับการผลิตไฟฟ้า, การกักเก็บพลังงานไฟฟ้า และการประหยัดพลังงานไฟฟ้า

อาคารหลัก Techno-Station และ Technology Research Institute

วิดีโอแนะนำ Technology Research Institute ซึ่งทำการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่ล้ำสมัยอย่างต่อเนื่อง
ครบรอบ 130 ปีของการก่อตั้ง เรายังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนายิ่งขึ้นไป ด้วยการเป็นสถาบันวิจัยแห่ง "Transcending the art and science of making of things"

จัดทำขึ้นในปีงบประมาณ 2020