

แนวคิดการก่อสร้าง
ลิฟต์อวกาศ
ลิฟต์อวกาศ ที่เชื่อมต่อโลกและอวกาศด้วยสายเคเบิล
และช่วยให้คุณไปและกลับจากอวกาศ
ได้อย่างง่ายดาย ราวกับขึ้นรถไฟ
-- จากมุมมองของการก่อสร้าง สามารถทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้
และการพัฒนาจริง ก็ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2012Project Team ของบริษัทโอบายาชิได้ประกาศ "แนวคิดการก่อสร้างลิฟต์อวกาศ"ในนิตยสารประชาสัมพันธ์ "โอบายาชิรายไตรมาส"




โดยจะสร้าง Earth Port หรือสถานีรับส่งบนโลก ซึ่งลอยอยู่ในทะเลบริเวณเส้นศูนย์สูตร
และสร้างเทอร์มินัลในวงโคจรค้างฟ้า (geostationary orbit)
ประมาณ 36,000 กม. เหนือท้องฟ้า

Earth Port
การเดินทางสู่อวกาศ เริ่มต้นที่ Earth Port
Earth Port เป็นอาคารที่ทำหน้าที่ยึดสายเคเบิล
ของลิฟต์อวกาศไว้กับพื้นดิน และทำหน้าที่ปรับ
ความตึงของสายเคเบิล ในขณะเดียวกัน Earth
Port ก็เป็นฐานสำหรับการขนส่งผู้คนและวัสดุ
ระหว่างการก่อสร้างสถานีวงโคจรค้างฟ้า (เทอร์มินัล
ในวงโคจรค้างฟ้า) ด้วย ท้ายที่สุดแล้ว Earth Port
จะกลายเป็นสถานีต้นทาง/ปลายทาง ที่เราใช้
เดินทางไปกลับระหว่างอวกาศและโลก

เดินทางจากโลก สู่จักรวาล
สถานีวงโคจรค้างฟ้า
เป็นสถานีที่ใหญ่ที่สุดพร้อมฟังก์ชันหลากหลาย
ซึ่งใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมในอวกาศ
เรากำลังวางแผนสร้างสถานีแนวตั้ง ซึ่งเป็นโครงสร้างโมดูล ที่มีฟังก์ชันการแบ็คอัพและการขยายที่ยอดเยี่ยม
เมื่อการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ จะมีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศขนาดใหญ่เอาไว้ใกล้ๆ กับสถานี เพื่อขนส่งพลังงานไฟฟ้าปริมาณมากมายังโลกด้วย
นอกจากนี้ เนื่องจากภายในสถานีมีสภาวะไร้น้ำหนัก
จึงสามารถเพลิดเพลินกับการเคลื่อนไหวต่างๆ ได้


ลูกตุ้มถ่วงน้ำหนัก
สายเคเบิลความยาวรวม 96,000 กม.ซึ่งยืดยาวออกไป
เหนือวงโคจรค้างฟ้า (geostationary orbit) จะมีลูกตุ้ม
ซึ่งช่วยถ่วงน้ำหนัก ติดอยู่ที่ส่วนปลายด้านที่อยู่ในอวกาศ
ในขณะเดียวกันลูกตุ้มถ่วงน้ำหนักนี้ จะทำหน้าที่เป็นประตู
เข้าออกสำหรับยานอวกาศ เพื่อการขุดค้นทรัพยากรบน
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะด้วย
เพื่อทำให้แนวคิดนี้เป็นจริงขึ้นมา
ปัจจุบันบริษัทโอบายาชิ กำลังทำการทดสอบความทนทานในอวกาศ
ของสายเคเบิลขนาดยาวมากซึ่งเชื่อมระหว่างโลกและอวกาศ

บริษัทโอบายาชิ มีแผนที่จะใช้ท่อนาโนคาร์บอน ซึ่งมีทั้งความเบาและความแข็งแรง
เป็นวัสดุสำหรับสายเคเบิลซึ่งเชื่อมระหว่างโลกและอวกาศ
โดยบริษัทฯ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยชิซูโอกะ ฯลฯ
ทำการทดสอบความทนทานในสภาพแวดล้อมในอวกาศ
ณ โมดูลอำนวยบริการภายนอก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "Kibo" หรือโมดูลทดลองวิทยาศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS)
ประมาณ 10 ปี นับจากการเสนอแนวคิด
บริษัทโอบายาชิ กำลังดำเนินการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ
ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาทางสังคม
ด้วยการพัฒนาวัสดุขั้นสูงให้ดีขึ้น เรากำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
สู่การใช้งานจริงในอนาคต
ปี 2050
ลิฟต์อวกาศ
สู่อนาคต